Bloom’s Digital Taxonomy 2007

bloom pyramid

“แนวคิดใหม่ที่ขยายความแนวคิดของของ Bloom เรียกว่า Bloom’s Digital Taxonomy แต่เดิมนั้นเจตนาของ Bloom เพื่อใช้สำหรับเขียนจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมตามลำดับขั้นซึ่งได้รับอิทธิพลจากแนวคิดแบบพฤติกรรมนิยมมาเต็มที่ ต่อมานำมาขยายความใหม่โดยเฉพาะในกลุ่ม Cognitive Domain นำไปผนวกกับลำดับขั้นทักษะการคิดหรือ Order Thinking Skills ทำให้ลำดับขั้นของ Cognitive Domain มีการเปลี่ยนแปลง โดยให้ลำดับขั้นของ การประเมิน (Evaluation) ลดลงมาแทนลำดับขั้น สังเคราะห์ (Synthesis) และนำระดับขั้นนี้ไปแทนเรียกชื่อใหม่ว่าเป็นระดับความคิดสร้างสรรค์ หรือ Creating” ซึ่งเป็นการขยายความและตีความโดยใช้ลำดับขั้นของการคิดมาแทนลำดับความสามารถที่ต้องสร้างให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนในการสอนหรือเขียนจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมเพื่อการสอน”  โดย : รองศาสตราจารย์ ดร.กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์

bloom’s revise taxonomy 2001

25570117-113752.jpg

……….

ทักษะความรู้ระดับล่าง——————->ทักษะความรู้ระดับบนสุด

การจำ (Remembering) เป็นระดับพื้นฐานของการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการนำเอาหรือดึงเอาความรู้ การสืบค้น การเตือนความจำ ได้จากความจำระยะยาวของคนออกมาเพื่อกำหนดการเรียนรู้ ให้พัฒนาต่อไปในระดับที่สูงขึ้น ที่ได้จากความรู้เดิมของคน จำ เรียกความรู้ที่เกี่ยวข้องจากหน่วยความจำระยะยาว
  • ตระหนักถึง
  • นึกถึง

การเข้าใจ (Understanding) ระดับถัดมาเป็นกระบวนการสร้างความรู้อย่างมีความหมาย จากสื่อ จากการอธิบาย การพูด การเขียน การแยกแยะ การเปรียบเทียบ การจัดหมวดหมู่ หรือการอธิบาย ที่จะนำไปสู่ความเข้าใจในสิ่งที่กำลังเรียนรู้ เข้าใจ กำหนดความหมายของสิ่งที่เรียนจากการเขียนหรือจากสื

  • การตีความ
  • ยกตัวอย่าง
  • จำแนก
  • สรุป
  • เปรียบเทียบ
  • อธิบาย

การประยุกต์ใช้ (Applying) กระบวนการในขั้นต่อมา เป็นการนำความรู้ความเข้าใจไปประยุกต์ใช้ หรือนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ด้วยกระบวนการหรือวิธีการดำเนินการอย่างเป็นขั้นเป็นตอน

  • การดำเนินการ
  • การใช้ประโยชน์

การวิเคราะห์ (Analysing) ระดับต่อมาเป็นกระบวนการนำส่วนต่างๆ ของการเรียนรู้ มาประกอบเป็นโครงสร้างใหม่ ด้วยการการพิจารณาว่ามีส่วนใด สัมพันธ์กับส่วนอื่นอย่างไร พิจารณาโครงสร้างโดยรวมของสิ่งที่เรียนรู้ แยกแยะวัตถุประสงค์ที่แตกต่างผ่านการกระบวนการอย่างเป็นระบบ

  • ความแตกต่าง
  • การจัดรูปแบบ
  • วัตถุประสงค์

การประเมินผล (Evaluating) ตัดสิน เลือก การตรวจสอบ สิ่งที่ได้จากการเรียน สู่บริบทของตนเอง ที่สามารถวัดได้ และตัดสินได้ว่าอะไรถูกหรือผิดบนเงื่อนไขและมาตรฐานที่สามารถตรวจสอบได้ บนพื้นฐานของเหตุผลและเกณฑ์ที่แน่ชัด

 การสร้างสรรค์ (Creating) ในระดับสูงสุดของการเรียนรู้ เพื่อให้ได้องค์ประกอบของสิ่งที่เรียนรู้ร่วมกัน ด้วยการสังเคราะห์ เพื่อเชื่อมโยง ให้รูปแบบใหม่ของสิ่งที่เรียนรู้หรือโครงสร้างของความรู้ที่ผ่านการวางแผนและการสร้างหรือการผลิตอย่างเหมาะสม

  •  สร้าง
  • การวางแผน 
  • การผลิต
 

Anderson, L. W., & Krathwohl, D. R. (2001). A taxonomy for learning, teaching, and assessing: A revision of Bloom’s taxonomy of educational objectives. New York: Addison Wesley Longman.

….

ที่มา : http://wiwatmee.blogspot.com/2012/09/blooms-revised-taxonomy-in-2001.html